เมนู
จดหมายข่าว
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ28/04/2011
อัพเดท28/09/2011
ผู้เข้าชม70707
แสดงหน้า81605




บทความ

สุนัขสายพันธ์ไทย
สุนัขพันธุ์ไทย (หมาไทย) 
           สุนัขพันธุ์ไทยเป็นมาจากพันธุ์สุนัขป่า ซึ่งคนนำมาเลี้ยงจนเชื่องติดตามคนจนคุ้นเคยกับคน เพราะได้กินเศษอาหาร เช่น เนื้อและกระดูกจากคนเลี้ยง โดยมันไม่ต้องเสาะหาอาหารกินเองอย่างแต่ก่อนพออยู่กับคนก็เลยคุ้น คงจะเลี้ยงมาตั้งแต่มนุษย์รู้จักทำนาทำไร่ จนถึงปัจจุบันนี้ หลายท่านก็คงจะสับสนเช่นกันว่า..สุนัขพันธุ์ไทยของเรานั้นแท้ที่จริงมีกีสายพันธุ์กันแน่ ยิ่งปัจจุบันนี้สุนัขไทยผสมข้ามพันธุ์กันมากมายจนไม่รู้พันธุ์ดั้งเดิมว่า พ่อพันธุ์แม่พันธุ์เป็นชนิดพันธุ์อะไรมั่วไปหมด สุนัขพันธุ์ไทยเท่าที่รวบรวมมาได้มีดังนี้         
         1. พันธุ์หลังอาน เป็นสุนัขพันธุ์ไทยที่แปลกกว่าพันธุ์ไทยอื่นๆตรงที่ บนหลังของมันจะปรากฏมีขวัญเริ่มตรงบริเวณเหนือหัวไหล่แล้วย้อนม้วนหางกลับไปตามกลางสันหลังไปจนถึงหลังสะโพก จะมองเห็นลอยขวัญได้ชัดเจนทุกๆตัว ที่มีหลังอาน 
              
                 2. พันธุ์หลังไม่อาน คือเป็นพันธุ์สุนัขไทยที่เลี้ยงกันมาแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยายแล้ว แปลกกันอย่างแรก ตรงที่หลัง ของสุนัขแบบนี้ไม่มีขวัญบนหลัง จึงไม่เรียกว่า หลังอาน ส่วนที่แสดงลักษณะพันธุ์สุนัขไทยชัดเจนที่รู้ๆกันได้แก่ หูตั้งทั้งคู่ มีลักษณะเป็นคล้ายกลีบบัว มีอุ้งป้องหูตรงปลายแหลม 

                ลักษณะบ่งบอกชัดเจนอีกประการหนึ่ง ที่ทุกคนมองก็รู้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ไทยแท้ ก็คือ หางดาบ ลักษณะความต่างของสุนัขพันธุ์ไทยทั้ง 2 อย่างดังกล่าวมานั้น ตรงที่พันธุ์หลังอาน จะเป็นสุนัขที่มีสีตัวคือ จะนวล เหลือง แดง สวาด หรือสีนาก บางตัวจะมีปลายหางเป็นดอกข้าว เรียกว่า อ้ายหางดอก 
               สุนัขพันธุ์สุนัขไทย จะเหมือนกันคือที่มีหูตั้ง หางดาบ เท่านั้น แต่บนแผ่นหลังจะไม่มีขวัญสุนัขชนิดนี้ มักจะมีสีตัวสีกายหลายๆสีปะปนกัน ซึ่งนอกจากจะมีเพียงสีเดียวบ้างแล้ว ที่เคยพบเห็นจะเป็นสุนัขสีแดง เขียว ดำ ขาว ด่าง ดอกลายเสือ นาก เทา แต้ม กล่าวโดยรวมก็คือ มักจะเป็นสุนัขที่มีสีอื่นๆมาปะปนกับสีพื้นตัวของมันด้วย เช่น สีเทาอมนาก สีแดงปนเหลือง ลายเสือปนจุดดำจุดขาวแดง ฯลฯ 

                3. บางแก้ว สุนัขพันธุ์ไทย ที่มีเอกลักษณ์ขนยาวสองชั้นหางเป็นพวง มีขน ขาหน้าคล้ายขนขาแข้งสิงห์แผงรอบคอคล้ายสิงโตมีความเฉลียว ฉลาด ไอคิวสูง ประวัติความเป็นมา ของ สุนัขไทยพันธุ์ บางแก้ว จากข้อมูล ที่พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว นั้นอยู่ที่ วัดบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม แต่ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไป หลายจังหวัดแล้ว มีเหตุผลที่สันนิษฐานว่า สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขลูกผสมสามสายเลือด เนื่องจากในอดีตนั้นพื้นทีเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย สัตว์ป่านานาชนิดรวม ทั้งสุนัขจิ้งจอก และหมาไนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โอกาสที่สุนัขจิ้กจอกและหมาไนตัวผู้จะมาแอบลักลอบเข้ามาผสมพันธุ์กับสุนัข ไทยตัวเมียที่เลี้ยงไว้ในวัดบางแก้วนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากทีเดียวเพราะ สุนัขป่าทั้งหลายนี้เป็นสุนัขที่กล้าหาญชาญชัย ว่องไว ใจปราดเปรียว แข็งแรง เมื่อมีการผสมข้ามพันธุ์กันตามธรรมชาติหรือ เรียกง่ายๆว่าธรรมชาติเป็นผู้ผสม และคัดเลือกพันธุ์ในที่สุดก็ได้สุนัข ไทยพันธุ์บางแก้ว ซึ่งมีลักษณะดีเด่นปรากฎโฉมออกมาคือ มีขนยาว ขนมีลักษณะเป็นขนสองชั้นคล้ายอานม้า หางเป็นพวงสวยงาม มีขนแผงคอคล้ายแผงคอสิงห์โต ดุ เฉลียวฉลาด มีไอคิวสูง ไม่แพ้สุนัขพันธุ์ต่างประเทศ 

                ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์ไทย สุนัข พันธุ์ไทย คือเลี้ยงง่าย..ถ้าเลี้ยงดูเอาใจใส่มันดีๆมันจะเป็นสุนัขที่น่ารักสวยงาม ซื่อสัตย์ กล้าหาญ อดทน ถ้าฝึกแต่เล็กๆมันจะฉลาด รู้อะไรสารพัด แม้จะให้มันไปคาบอะไรมาให้ หรือแม้ไปท้องนา ขุดหนูได้ก็จะนำเอามาให้เจ้าของ พบงูพิษมันก็จะเห่าให้เจ้าของได้ยินเพื่อมาช่วยมัน เจ้าของไปนาไปไร่มันก็จะวิ่งนำหน้าถ้ามันรู้ทางเคยไปครั้งหนึ่งแล้ว มันจะจำทางได้เป็นอย่างดีเวลาเจ้าของกลับมันก็จะกลับด้วยมันจะดุมากๆถ้ามีคนแปลกหน้าเข้าไปในบ้าน ถ้าผู้มาไม่เรียกเจ้าของบ้านก่อนเคยถูกมันกัดมาหลายรายแล้วแต่ถ้าเรียกเจ้าของ และถ้าเจ้าของร้องห้ามมันก็จะหยุดเห่า กระดิกหางให้คนแปลกหน้า แต่ระวังอย่าไปหยิบหรือจับข้าวของภายในบ้านเด็ดขาดมันจะกระโดดขย้ำแขนเอาทันทีแต่ก็กัดเพียงเบาๆเป็นการเตือน 

              ขนาดของสุนัขพันธุ์ไทย สุนัขพันธุ์ไทย มีความสูงเต็มที่ เพศผู้จะสูงเต็มที่โดยเฉลี่ยแล้วจะมีความสูง 21 –25 นิ้ว ส่วนเพศเมียจะสูงลดลงมาประมาณ 19 – 24 นิ้ว ส่วนน้ำหนัก โดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้จะหนักประมาณเท่ากับความสูง คือ 20 – 25 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียจะหนักราว 18 – 24 กิโลกรัม 

              การดูแลสุขภาพสุนัข 
              สุนัขไทย หรือ สุนัขเทศ ก็เหมือนคนเรา เจ้าของจะต้องรู้จักสังเกตอากัปกิริยาอาการของมัน ถ้าปกติมันจะซุกซน วิ่งไปวิ่งมาไม่หยุด จะกัดจะทะเลาะกันเอง แต่ถ้ามันไม่สบาย มันจะซึมเศร้า นอนทั้งวัน ซึ่งอาการป่วยฯลฯพอที่จะสรุปได้ดังนี้ 
              -ถ้าสุนัขเป็นหัด เกิดจากเชื้อไวรัส ตัวจะผอม น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีขี้ตาเยิ้ม สั่นกระตุก ควรนำไปหาสัตวแพทย์ฉีดวัคซีน
             -โรคลำไส้ ปกติสุนัขพันธุ์ไทยไม่สู้จะเป็น ส่วนมากจะเป็นเฉพาะสุนัขพันธุ์ฝรั่ง เพราะผิดอาหารและผิดอากาศ ควรจะให้ยาถ่ายพยาธิ.และปฎิบัติตามใบนัด(สมุดประจำตัว)ที่หมอประจำตัวน้องหมานัด.ไว้ตามกำหนด. 
            -โรคพิษสุนัขบ้า สุนัขอายุ 1 เดือนขึ้นไป ควรจะนำไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุนัขบ้า สัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ต้องนำไปฉีดยาดังกล่าวทุกๆปีและเมื่อครบปีแล้ว ก็นำไปฉีดให้ติดต่อกันทุกๆปี เพราะพิษสุนัขบ้าเป็นแล้วแก้ไขไม่ได้ตายอย่างเดียว(บ้าแล้วตาย) แม้แต่คนที่ถูกสุนัขบ้ากัดก็ตาม พอถูกสุนัขที่มีคอแข็ง ตาขวาง เดินขาถ่าง และเซไปมากัดควรจะรีบไปฉีดยาป้องกันฯโดยเร็ว 
             -โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หากมีอาการผิดปกติในระบบทางเดินหายใจในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ควรจะรีบนำไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา(ฉีดยา)ต่อไป 
            -เห็บ มักมีมากและแพร่หลายโดยเฉพาะสุนัขพันธุ์ฝรั่ง เพราะขนยาว เห็บชอบอาศัยกัดกินเลือด สุนัขจะแสดงอาการคันตามตัว จะใช้เล็บเกาบริเวณนั้น ถ้าเลี้ยงสุนัขรวมกันจะแพร่รวดเร็ว ควรจะซื้อยากำจัดเห็บมาผสมน้ำอาบ และใช้แปรงหวีตามขนให้ทั่ว หรือโรยยาผงกำจัดเห็บสุนัขโดยเฉพาะ 
             -โรคขี้เรื้อน ขนจะหลุด ตามตัวตกเกล็ดเป็นแผ่นแข็งหนาและเป็นแผลน้ำเหลืองเยิ้ม ควรไปปรึกษาสัตวแพทย์ หรือใช้ยารักษาโรคเรื้อนมาทาตามตัวให้ทั่วจนมีอาการปกติและมีขนขึ้นดังเดิม 

            การสอนสุนัข 
           ถ้าเจ้าของต้องการฝึกสุนัขให้ทำอะไร เช่น คาบหนังสือพิมพ์ ผ้าขี้ริ้ว ตะกร้า กระจาด หรือภาชนะที่พอกำลังมันจะคาบมาได้ ก็ควรจะฝึกหัดมันตั้งแต่มีอายุ 3-6 เดือน ซึ่งสามารถจะหัดได้ พอมันทำได้ก็ควรจะมีรางวัลให้ เช่น เศษเนื้อหรือขนม เป็นต้น การลงโทษสุนัข เมื่อทำผิดก็ต้องลงโทษ..(รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี) การลงโทษสุนัขควรจะลงโทษเมื่อมันทำผิดเดี๋ยวนั้น ครั้งแรกที่เห็นมันทำผิด ควรจะดุด้วยคำพูดว่า “อย่า” หรือ “หยุด” ดังๆเพื่อให้มันหยุดทำ ถ้ามันทำซ้ำอีก จึงค่อยใช้ไม้เรียวตีมันเบาๆในขณะนั้น การฝึกต้องทำบ่อยๆและทุกๆวัน จนมันสื่อความหมายจากคนได้ ปกติสุนัจจะแสนรู้อยากจะประจบและเอาใจเจ้าของอยู่แล้ว แต่ถ้าสุนัขโตแล้วก็คงยาก เหมือนกับคนนั่นและ “ ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” 

เครดิต อาหมอ..จักวาล/ภาพจากอินเทอร์เนท

link  http://vet54bk.igetweb.com/index.php?mo=3&art=201335

 


Action that we create.  Results would become of us.