เมนู
จดหมายข่าว
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ28/04/2011
อัพเดท28/09/2011
ผู้เข้าชม70720
แสดงหน้า81618




สังคมไทย:การเรียนรู้ตลอดชีวิต (เข้าชม 1108 ครั้ง)

 

สังคมไทย : การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning)
                                                                                                                                                                                                             *บัญญัติ  ลาชโรจน์ 

                   ในอดีตสังคมไทยไม่จำเป็นจะต้องพัฒนาการเรียนรู้มากเท่าใด แต่ในปัจจุบันสังคมไทยจะต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ในปัจจุบันและในอนาคตสังคมจะเป้นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะความก้าวหน้าและความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การสื่อสารเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็วและไร้ขอบเขต ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่หมุนเวียนอยู่ในระบบสังคมโลก และสังคมของประเทศมีจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีกระบวนการอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด เมื่อใดเราหยุดบริโภคข้อมูลข่าวสาร หมายถึงการหยุดยั้งอยู่กับที่ นั้นคือการหยุดยั้งการเรียนรู้กระบวนการความก้าวหน้าทั้งสิ้นดังนั้นจึงมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

                  “การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการศึกษาที่เกิดแบบผสมผสานขึ้นระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือการเรียนรู้จากแหล่งความรู้อื่น ๆ ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเต็มศักยภาพ ให้มีความรู้ มีทักษะ มีประสบการณ์ เพื่อดำรงชีวิตและประกอบอาชีพในสังคมข้อมูลข่าวสาร และกระแสการเปรียบแปลงได้อย่างเหมาะสมถูกต้องทุกช่วงอายุของชีวิต กล่าวคือ ถ้าเราจะลงทุนทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจนั้นแบบบูรณาการ คือความรู้ด้านการผลิต การตลาด การบัญชี ความรู้ด้านการจัดการ การคำนวณต้นทุน การผลิต การตั้งราคาขาย กลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภค พฤติกรรมผู้บริโภค โอกาสจำหน่ายหรือส่วนแบ่งการตลาด คือต้องเชื่อมโยงและบูรณาการความรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการทำธุรกิจ
 
                   สังคมไทยจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของคนในชาติ ให้รักการเรียนรู้มากกว่า ความสนุก ความบันเทิง คนไทยจะต้องรักการอ่านมากกว่าการพูด รักและรู้วิธีการแสวงหาความรู้ข้อมูลข่าวสาร
มากขึ้น ไม่เป็นการรอรับข้อมูล อย่างเดียวและปรับเปลี่ยนค่านิยม ในการเรียนรู้ให้ถูกต้องเหมาะสม ประเทศไทยจะต้องสัมพันธ์กับกระแสการเปลี่ยนแปลงทุกด้านจากสังคมโลก ทั้งในด้านการศึกษา การค้า การลงทุน การเมือง การปกครอง การบันเทิง ประเทศไทยจะต้องปรับตัวเข้าสู่ความเป็นสากลมากขึ้น เนื่องจากกระแสความเป็นสากลของโลก (Internationalization) นั่นคือ ความรู้ต้องเป็นความรู้ที่เป็นสากล และภาษาที่ใช้ในการสื่อสารที่เป็นสากล คือภาษาคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษรวมทั้งเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ
 
                    สังคมไทยต้องสัมพันธ์กับสังคมที่มีการแข่งขัน (Competitive Society) ตามอิทธิพลของกระแสที่เป็นเสรี (Liberatization) โครงสร้างเศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากการใช้แรงงานไปเป็นสังคมการใช้ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้น เป็นสังคมที่แข่งขันกันบนฐานความรู้(Knowledge based Society) หรือสังคมเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Economic based Society)
 
                   ในอนาคตสังคมไทยจะต้องปรับตัวให้ทันกับความรู้ของโลกที่เป็นสากล เนื่องมาจากแรงขับของข้อมูลข่าวสาร (Informationization driven)
 
                   การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึง เป็นการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยในอนาคตหรือในศตวรรษที่ 21เป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลจึงได้ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อสังคมไทยให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  
เอกสารอ้างอิง  :    ยุทธศาสตร์การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21    สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ   สำนักงานคณะกรรมการ       การศึกษาแห่งชาติ ตุลาคม 2543 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม 


Action that we create.  Results would become of us.